สถิติทดสอบพาราเมตริก (Parametric test) เป็นสถิติทดสอบที่ใช้ได้กับข้อมูลที่มีระดับการวัดในระดับสูงเช่นมาตราอันตรภาคและในระดับมาตราอัตราส่วนเท่านั้น และมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงหลายอย่างที่ค่อนข้างจะเข้มงวด ตัวอย่างของสถิติพาราเมตริกเช่น ตัวทดสอบ Z ตัวทดสอบ t และตัวทดสอบ F เป็นต้น ส่วนสถิติการทดสอบที่จำแนกเป็น สถิติทดสอบนอนพาราเมตริก (Nonparametric test) นั้น เป็นสถิติทดสอบที่ใช้ได้กับข้อมูลที่มีการวัดตั้งแต่ระดับมาตรานามบัญญัติ และ มาตราเรียงอันดับ และยังใช้ได้กับข้อมูลที่มีระดับการวัดในมาตราอันตรภาคและมาตราอัตราส่วนด้วย ตัวอย่างของสถิตินอนพาราเมตริกเช่น การทดสอบทวินาม, การทดสอบเครื่องหมาย, การทดสอบโคลโมโกรอฟสไมร์นอฟซึ่งมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงเพียงบางอย่างเท่านั้นและไม่เข้มงวดอะไรนัก โดยทั่วไป t-test และ F-test เป็นสถิติทดสอบที่มีอำนาจการทดสอบสูงสุดเมื่อใช้กับข้อมูลที่ตรงตามข้อตกลง จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าพวกสถิติทดสอบนอนพาราเมตริก ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสถิติทดสอบพาราเมตริกและสถิติทดสอบนอนพาราเมตริก ดังนี้
ข้อดีของสถิติทดสอบนอนพาราเมตริก
1.สามารถใช้ทดสอบข้อมูลที่มีระดับการวัดตั้งแต่ มาตรานามบัญญัติ, มาตราเรียงอันดับ, มาตราอันตรภาค, และมาตราอัตราส่วน
2.สามารถใช้ทดสอบข้อมูลที่มีจำนวนน้อยๆ ได้เป็นอย่างดี
3.ส่วนมากจะทราบความน่าจะเป็น (exact probability)
4.มีข้อตกลงเรื่องเงื่อนไขเพียงบางประการเท่านั้น
5.มีวิธีคำนวณง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก
ข้อเสียของสถิติทดสอบนอนพาราเมตริก
1.ถ้ามีข้อมูลจำนวนมากเกินไป วิธี การจัดลำดับ (ranking) จะยุ่งยากและเสียเวลามาก
2.ถ้าข้อมูลมีลักษะตรงตามข้อตกลงที่ใช้ สถิติทดสอบพาราเมตริกได้การทดสอบด้วยของสถิติทดสอบนอนพาราเมตริก ส่วนมากจะมีประสิทธิต่ำกว่าการทดสอบด้วยสถิติพาราเมตริก
ที่มา : อรพรรณ ธรรมมา. สถิติที่ไม่อิงพารามิเตอร์. 2552
ที่มา : อรพรรณ ธรรมมา. สถิติที่ไม่อิงพารามิเตอร์. 2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น