สถิตินอนพาราเมตริกที่ใช้ทดสอบกับตัวอย่างหนึ่งกลุ่มโดยทั่วไปมักจะเป็นการทดสอบเกี่ยวกับลักษณะการแจกแจงของประชากรที่เรียกว่าการทดสอบภาวะสารูปสนิทดี (Goodness of fit Test) ซึ่งเป็นการทดสอบที่ใช้ข้อมูลในตัวอย่างเป็นพื้นฐานที่จะดูว่าประชากรมีการแจกแจงเป็นไปตามทฤษฎีที่กำหนดหรือตามข้อสันนิษฐานหรือไม่ เช่นมีการแจกแจงตามฟังก์ชันความน่าจะเป็นที่มีรูปแบบต่างๆ เป็นต้นว่า การแจกแจงแบบปรกติ การแจกแจงทวินาม การแจกแจงปัวซง หรือการแจกแจงยูนิฟอร์ม การทดสอบขึ้นกับว่าจะทีความเหมาะสม (fit) ดีเพียงใด ที่การแจกแจงความถี่ที่สังเกตในตัวอย่างมีต่อความถี่ที่คาดหวังตามทฤษฎีหรือข้อสันนิษฐานที่ตั้งไว้
การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มสามารถตอบคำถามในเรื่องเหล่านี้คือ
1.มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับตำแหน่งหรือค่าตัวกลาง (Central tendency) ระหว่างตัวอย่างกับประชากรหรือไม่
2.มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างความถี่ที่สังเกต (Observed frequencies) กับความถี่ที่คาดหวัง (Expected frequencies) หรือไม่
3.มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสัดส่วนความถี่ที่สังเกต (Observed proportion) หรือไม่
4.มีเหตุผลพอที่จะเชื่อได้หรือไม่ว่าตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างชนิดสุ่ม (Random sample) จากประชากรที่กำหนดไว้
สถิตินอนพาราเมตริกที่ใช้ทดสอบกับตัวอย่างหนึ่งกลุ่มที่จะกล่าวถึงในนี้มี 3 ชนิดคือ
1. การทดสอบทวินาม (The Binomial Test)
2. การทดสอบไคสแควร์
ที่มา : อรพรรณ ธรรมมา. สถิติที่ไม่อิงพารามิเตอร์. 2552
น่าสนใจมากครับ
ตอบลบ